ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
-จากบทความ
ความเป็นครูพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น
เปรียบเสมือนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นดั่งครูแห่งแผ่นดิน
ครูของประเทศชาติ ครูของประชาชนทุกคนที่เป็นพสกนิกรของท่าน เพราะพระองค์ได้ทรงสอนถึงเรื่องการให้เราได้รู้จักถึง
ดิน น้ำ ลม ไฟ สอนให้รู้จักการใช้ชีวิต รวมถึงการให้ความช่วยเหลือ
เผื่อแผ่ถึงคนที่ทุกข์ยากลำบาก
เนื่องจากความเป็นครูของท่านที่ได้สั่งสอนประชาชนทุกคนนั้น ไม่มีตำราใด
ไม่มีมหาวอทยาลัยไหน ที่ได้สอนลึก เขาถึงเรื่องแบบนี้ ดังตัวอย่างโครงการมากมายที่ท่านได้ทรงคิดขึ้นมานอกจากท่านจะคิดแล้วท่านยังทำให้ดูอีกด้วย
ทรงทำให้เห็นว่าการเป็นครูนอกจากการเรียนการสอนนอกชั้นเรียนแล้ว
การทำให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง การให้นักเรียนได้เห็นเนื้อหาของวิชาที่แท้จริง
โดยการทำให้ดูรวมถึงการฝึกให้นักเรียนคิดด้วยตนเองคิดได้คิดเป็น นอกจากนี้การเป็นครูที่ดีจะต้องปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนด้วย
รวมถึงเปิดใจกว้างยอมรับความรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เสมอ
ฝึกฝนพัฒนาตนเองให้มีความรู้ก้าวหน้า ทันกับสภาพแวดล้อมเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป
แต่ทั้งหมดนี้ต้องอยู่ในความพอดีพอเพียงด้วย
เพื่อคนไทยจะได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ มีความเจริญทางด้านจิตใจ
มากยิ่งขึ้น
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
-ในการเรียนการสอนปัจจุบันได้สอนนักเรียนเริ่มรู้จักที่จะคิด
วิเคราะห์ ถ้าจะนำความรู้ที่ได้จากบทความมารประยุกต์ก็จะทำให้เกิดประโยชน์เป็นอย่างมาก
สิ่งที่จะนำมาประยุกต์เป็นอันดับแรกๆที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสอน
คือการรู้จักทำความดี เพราะความเป็นปัจจัยพื้นฐานในการคิด
ริเริ่มพัฒนาศักยภาพของตนเอง ความดีนั้นทำยาก
แต่การรักษาความดีให้คงอยู่นั้นทำยากยิ่งกว่า เราควรรู้จักปรับตัว
ให้เป็นแบบอย่างเหมือนกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จึงจะทำให้นักเรียนที่เราสอนนั้นดูครูเป็นแบบอย่าง
และอีกหลายอย่างที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้สอนนักเรียนได้ คือ
การปลูกฝังความรู้ ความคิด และจิตใจของเยาวชน โดยมีหลักวิชาที่ถูกต้อง
มีทั้งคุณความดี และเอื้ออารีปรารถนาดีที่จะถ่ายทอด
เผื่อแผ่ให้แก่ผู้อื่นให้มีความรู้ความเข้าใจที่ดี
นอกจากนี้สอนให้ผู้เรียนดำรงชีวิตอยู่อย่างเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นการฝึกทักษะ
และเป็นประโยชน์อย่างมากในอนาคตของผู้เรียน
จะทำให้เขาเป็นคนที่มีประสิทธิภาพในการดำรงชีวิตมากยิ่งขึ้น
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
-ในการออกแบบการเรียนการสอนจากบทความนี้ไปใช้สอนนักเรียนในรายวิชาสังคมนั้น
ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในสังคม อยู่อย่างไรให้เป็นคนที่ทันต่อคนอื่น
ไม่สุดโต่ง เป็นคนที่มีความพอดี เพราะจะนำแนวคิดนี้ไปสอนให้เขารู้จักความดี
อยู่อย่างพอเพียง นำหลักเศรษฐ์กิจพอเพียงมาสอนควบคู่กับวิชาในกลุ่มสังคม
ให้เขารู้จักวางแผน มีความรอบคอบ ควบคู้กับความรู้ที่ได้รับ
และนำความรูที่ได้นั้นไปใช้อย่างถูกต้อง มีจริยธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วยครับ
จะถือได้ว่าแนวคิดนี้ เป็นแนวคิดที่ดี จะได้เป็นหลักในการดำเนิน แนวทาง
ให้แก่คนรุ่นหลังอีกด้วยครับ
บทความเรื่อง วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบ
1. ข้อสรุปที่ได้จากการอ่านบทความ
-การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา แต่ละเขตพื้นที่ประกอบด้วย 3 คณะ คือ
คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษามีหน้าที่หลักในการดูแล ส่งเสริม
สนับสนุนการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ในลักษณะทั่วไป คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ
ประเมินผลและนิเทศการศึกษา มีหน้าที่หลักในการดูแลงานเชิงวิชาการ
งานประกันคุณภาพการศึกษา และ
อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา
มีหน้าที่หลักในการดูแลงานด้านการบริหารงานบุคคล
-สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการของเขตพื้นที่การศึกษา พบว่า
การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย
และการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถรับเด็กเข้าเรียนได้สูง และอัตราเรียนต่อสูงขึ้นทุกปี อัตราการออกกลางคันลดลง ผู้ปกครองต้องการให้เด็กเรียนสูงขึ้น แต่สถานศึกษาในชนบทส่วนใหญ่ เป็นสถานศึกษาขนาดเล็ก ครูผู้สอนมีน้อย
และเด็กส่วนใหญ่ไม่มีความรู้มากนัก เพราะเรียนแค่ ม.3 หรือ ม.6 เท่านั้น
จึงทำให้การว่างงานนั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ
2.
ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
-เมื่อผมเป็นครูผู้สอนจะนำความรู้ที่ได้นี้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนโดยการให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู
ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา
นอกจากนี้ผมขอน้อมนำแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
หลักการทรงงานและหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป็นแนวทางการพัฒนา
3.
ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
- ถ้าผมเป็นครูในอนาคต
ผมก็สามารถที่จะนำแนวคิดของบทความนี้ไปใช้ในการออกแบบการสอนโดย
ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเข้าใจ
ครูต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้รับความรู้โดยการให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้จากกิจกรรมที่ครูจัดให้ไม่ใช่ครู เป็นภาษาของตนเองครับ
เพื่อให้เป็นองค์ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวของผู้เรียน
และสุดท้ายต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้นำองค์ความรู้นี้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆ ที่เป็นสถานการณ์ที่เป็นสภาพจริง
สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เพื่อเขาจะได้เป็นบุคคลที่ทันต่อยุคโลกาภิวัจน์ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น