วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค

ให้นักศึกษาอ่านบทความต่อไปนี้ วิเคราะห์แสดงความคิดเห็น
1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
ตอบ    จากบทความเกี่ยวกับเรื่อง แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ในความหมายแท้จริงแล้วก็คือแผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียน (อาจจะเป็นกระดาษ, ดิน, ขี้ผื้ง, ไม้, หินชนวน) และมีการใช้กันมานานแล้วในอดีต  แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่ใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ซึ่งมีหลายบริษัทได้ให้คำนิยามที่แตกต่างกันไป หลักๆแล้วก็มี 2 ความหมายด้วยกันคือ "แท็บเล็ต พีซี -Tablet PC (Tablet Personal Computer)" และ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (Tablet Computer)" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต (Tablet)"       
แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก ออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากหลังจากทาง Microsoft ได้ทำการเปิดตัว Microsoft Tablet PC ในปี 2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก "แท็บเล็ต พีซี ( Tablet PC)" ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ Laptops ตรงที่อาจจะไม่มีแป้นพิมพ์ในการใช้งาน แต่อาจจะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน (มีแป้นพิมพ์ปรากฎบนหน้าจอใช้การสัมผัสในการพิมพ์) "แท็บเล็ต พีซี (Tablet PC)" ทุกเครื่องจะมีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน
แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (Tablet Computer)" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต ( Tablet)" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม" ซึ่งทางบริษัท Apple ผู้ผลิต "ไอแพด (iPad)" ได้เรียกอุปกรณ์ของตัวเองว่าเป็น "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (Tablet Computer)" เครื่องแรก
แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา
                -  เทคโนโลยีสื่อต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญและมีอิทธิพลอย่างมากในการพัฒนาการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนของสังคมยุคใหม่ ตามนโยบายของรัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายในการส่งเสริมเทคโนโลยีการศึกษาไทย เพื่อให้การศึกษาไทยทัดเทียมกับนานาชาติ การใช้แท็บเล็ตเพื่อการศึกษาของประเทศไทยจะทำให้การศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะแท็บเล็ตมีศักยภาพหลายอย่างที่เหมาะจะนำมาใช้ในการจัดการศึกษา แต่อย่างไรก็ตามสำหรับประเทศไทยนั้นยังไม่มีหลักสูตรที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนด้วยแท็บเล็ตมากหนักผู้จัดการเรียนการสอนจึงควรปรับแผนการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับการจัดการเรียนด้วยแท็บเล็ต จึงจะทำให้การจัดการเรียนการสอนด้วยแท็บเล็ตมีคุณภาพตามนโยบายของรัฐบาล และนอกจากนี้แล้วครูผู้สอนควรมีความรู้ด้านสื่อเทคโนโลยีดีพอสมควรครับ
ที่มา

2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
ตอบ จากบทความเกี่ยวกับเรื่อง สมาคมอาเซียน อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ได้ถูกยกเลิกไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน "ปฏิญญากรุงเทพ" อาเซียนได้ถือ กำเนิดขึ้นโดยมี รัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ ได้แก่  ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ในเวลาต่อมา บรูไนดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 6 เมื่อปี 2527 เวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 7 ในปี 2538 ลาว  และ พม่า เข้าเป็นสมาชิกพร้อมกันเมื่อปี 2540 และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุดเมื่อปี 2542 ทำให้ในปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกรวมทั้งหมด 10 ประเทศ ปัจจุบันกฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น   เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ใน ปี พ.ศ. 2558   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม ความเข้าใจ อันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความ เจริญทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดีบนพื้นฐานของความเสมอภาค และ ผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
กล่าวคือเหลืออีกเพียง 2 ปีเศษ ประเทศไทย จะเปิดประตูเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เราจะเตรียมตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้  ไม่ใช่แค่ให้ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องปรับตัวตั้งรับเท่านั้น  ภาคการศึกษาเองก็ต้องปรับระบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทที่จะต้องเปลี่ยนแปลงในอนาคตทั้งในด้านทักษะวิชาชีพและภาษา เพราะเมื่อมีการเปิดตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้วทุกอย่างจะอยู่บนพื้นฐานของการแข่งขัน  
ดังนั้นการปรับตัวและการเตรียมความพร้อมของรัฐบาลในเชิง คือ กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาควรมีนโยบาย และแผนยุทธศาสตร์ในการรองรับการเตรียมความพร้อมของอุดมศึกษาไทยในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งที่ผ่านมานโยบายที่รองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของรัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนมากนักในการนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งควรมีนโยบายในการปรับตัวและการเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแก่มหาวิทยาลัยในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม
 การปรับตัวด้านการเตรียมความพร้อมของอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา คือ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ต้องพัฒนาศักยภาพของตนเองทางด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษากลางในการสื่อสารในภูมิภาคอาเซียน
การปรับตัวด้านการเตรียมความพร้อมของนักศึกษา คือ นักศึกษานั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเรียนรู้ปรับตัว และเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในอนาคต เช่น นักศึกษาต้องมีความสนใจและตระหนักถึงผลที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการรวมตัวของประเทศต่างๆ สู่ประชาคมอาเซียนในส่วนของข้อดีและข้อเสียอย่างเข้าใจ การเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียนซึ่งสังคมยุคใหม่จะสะท้อนความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้น การเรียนรู้ของนักศึกษายุคใหม่จึงจำเป็นต้องปรับทั้งกระบวนการเรียนรู้ ปรับทัศนคติที่จะต้องตระหนักถึงความเป็นชาติ การปรับกระบวนทัศน์การเรียนรู้ยุคใหม่ควรเป็นไปอย่างมีเป้าหมาย อย่างคนรู้เท่าทันสถานการณ์  การสร้างความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่ต่างวัฒนธรรมได้และเรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้านทั้งในด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน  พร้อมกับสร้างโอกาสเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษให้มากขึ้นให้สามารถสื่อสารได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ดี การที่เราจะเข้าสู่สมาคมอาเซียน เราก็ควรเริ่มต้นที่ตยเองก่อนดังที่กล่าวมา การเรียนการสอนควรมีการปฏิรูปไม่ใช่ปฏิรูปแต่องค์กรเพราะการสอนให้เด็กคิดเป็นไม่ใช่เรื่องง่าย  ก่อนอื่นอาจารย์ต้องคิดเป็นก่อน ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการเรียนการสอน  ไม่ควรแยกระหว่างอุดมศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ถ้าหากว่าครูหรืออาจารย์มีความรู้หรือข้อมูลน้อยกว่าเด็กแล้วจะสอนเด็กได้อย่างไร  เพราะในปัจจุบันเด็กมีการใช้เทคโนโลยีและศึกษาข้อมูลได้ดีกว่าผู้ใหญ่มีความคล่องตัวมากกว่า เพื่อการเป็นครูที่ดีต่อไปได้และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคโลกาภิวัจน์ได้ครับ
ที่มา
3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
ตอบ     จากการที่กระผมได้อ่านบทความ ครูกับภาวะผู้นำ กล่าวถึงครูกับภาวะผู้นำว่า การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน   เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้ครั
                 ดังนั้นกระผมสรุปว่า  ครูที่จะเป็นทั้งครูผู้สอนและครูที่มีภาวะเป็นผู้นำได้ จะต้องเป็นครูที่มีความรักและศรัทธาต่อความเป็นครู มีคิดริเริ่มสร้างสรรค์พัฒนาตนเองอยู่เสมอให้ทันต่อโลกเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ต้องหาหนังสือดีๆ มาอ่าน มีการจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัยสร้างสรรค์ มีใจที่กว้างยอมรับในความแต่งต่างของบุคคลอื่น ต้องรู้จักไว้ใจผู้อื่น มีแรงบันดาลใจในตัวเอง มีพัฒนาการในการสอนที่ดีไม่จมอยู่กับอดีตแต่มองไปที่ปัจจุบันและอนาคตข้างหน้า เป็นครูที่หาข้อมูลเกี่ยวกับการสอนตัวเด็กเพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน การจัดการเรียนการสอนจึ่งต้องให้เหมาะแก่เด็กแต่ละคน และในการจัดการเรียนการสอนก็จะต้องให้เด็กแสดงออกมีความกล้าที่จะทำในสิ่งดีๆ มีเทคนิคการสอนที่ทันสมัยทันต่อเทคโนโลยีจนเป็นที่ยอมรับของเพื่อนครูด้วยกันจึงจะเป็นครูที่มีภาวะผู้นำด้านการสอนและความเป็นครู จึงจะทำให้ครูผู้สอนเป็นผู้นำที่ดีได้ครับ
ที่มา
4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหากนักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
ตอบ       ในการเรียนรู้วิชาการบริหารจัดการในชั้นเรียนโดยใช้บล็อก ที่สอยโดยอาจารย์ที่มีความชำนาญทางด้านนี้ กระผมคิดว่าเป็นวิธีการจัดการที่มีความทันสมัย ทันต่อเทคโนโลยีเหมาะที่จะใช้ในยุคปัจจุบัน ซึ่งที่ยุคที่ต้องทันต่อคนอื่น ต้องมีการแข่งขันกันสูง ซึ่งการจักการเรียนการสอนแบบนี้ เป็นการจัดการเรียนที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปประยุคใช้ได้จริงในการเรียนการสอน และเป็นการเรียนการสอนแบบใหม่ๆ ไม่เหมือนใครครับ การใช้บล็อกในการเรียนการสอน ก็ยังสามารถใช้ได้กับทุกวิชา เป็นความรู้ที่เปิดกว้าง เพราะเนื่องจาก เราสามารถที่จะศึกษาได้ด้วยตนเอง ยึดการเรียนของเราเป็นหลักสำคัญ โดยการศึกษาทางไกลที่ไร้พรมแดน ดั่งนั้นจากสาเหตุที่กล่าวมา วิชานี้เป็นวิชาที่ดี กระผมคิดว่า ควรได้  A  ครับ
    4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
 -กระผมมีความพยายามในการเรียนวิชาการบริหารจัดการในชั้นเรียนเป็นอย่างมาก    เนื่องจากวิชานี้เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการในชั้นเรียน   ซึ่งไปเป็นครูจึงจำเป็นจะต้องรู้เรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี ดังนั้นฉกระผมจึงพยายามหาความรู้ใหม่ๆให้ได้มากที่สุด  โดยการตั้งใจทำบล็อกและนำเนื้อหาใส่ลงไปในบล็อกตามกิจกรรมที่อาจารย์สั่ง  เพื่อจะได้นำความรู้จากบทความที่ใส่ลงในบล็อกมาใช้สอนผู้อื่นได้ต่อไปครับ
    4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
                -กระผมเข้าเรียนไม่เคยขาดครับ
    4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน                 -กระผมทำงานส่งผ่านบล็อกทุกครั้งที่อาจารย์สั่งครับ
    4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
                -ทำเองโดยหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตครับ
    4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
                -กระผมทำงานในบล็อกด้วยความตั้งใจจริง ด้วยเหตุว่าความรู้นั้นควรศึกษาด้วยตนเอง โดยมีอาจารย์เป็นผู้ให้แนวทางในการศึกษาหาความรู้ และการทำบล็อกนี้ เป็นแนวทางการเรียนรู้แบบใหม่ ทำให้ผมสนใจที่จะศึกษาหาความรู้จากเรื่องที่อาจารย์ตั้งใจสอนด้วยตนเองครับ เพราะฉะนั้นสิ่งที่กระผมตอบมาเป็นความสัตย์จริงครับ

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 8



1.ให้นักศึกษาเล่าถึงคุณครูที่ชื่นชอบ และมีคุณสมบัติอย่างไร หากนักศึกษาจะเป็นคุณครูที่ให้ได้แบบอย่างนี้ นักศึกษาจะมีวิธีการปฏิบัติอย่างไร เขียนบรรยายวิธีการไปสู่เป้าหมายของคุณครูที่ชื่นชอบ
          -ครูที่ผมชื่นชอบและจะเป็นครูในแบบอย่างนั้น คุณสมบัติง่ายๆที่สำคัญที่ครูทุกคนควรมี คือ ลักษณะที่ดี 10 ประการ คือ
1. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและใจ ที่แสดงถึงความเคารพในกฎหมาย ระเบียบประเพณีของสังคม และความประพฤติที่สอดคล้องกับอุดมคติหรือความหวังของตนเอง โดยให้ยึดส่วนรวมสำคัญกว่าส่วนตัว
2. ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม หมายถึง การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เอาเปรียบ หรือคดโกงผู้อื่นหรือส่วนรวม ให้ยึดถือหลักเหตุผล ระเบียบแบบแผนและกฎหมายของสังคมเป็นเกณฑ์
3. ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม
4. ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมและไม่ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่สังคม
5. ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล หมายถึง ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน
6. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือ ในการอยู่ร่วมกันโดยยึดผลประโยชน์ของสังคมให้มากที่สุด
7. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หมายถึง ความมั่นคงและจิตใจ รู้จักบำรุงรักษากายและจิตใจให้สมบูรณ์ มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง
8. ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
9. ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมของตนเองและทรัพยากรของชาติ
10. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปัน เกื้อกูลผู้อื่น ในเรื่องของเวลากำลังกายและกำลังทรัพย์
-คุณลักษณะ 10 ประการนี้ เป็นทั้งแนวทางและเป้าหมายในการนำผมไปสู่ครูที่ชื่นชอบ ทำให้การจัดการศึกษาและอบรมสั่งสอนนักเรียน ของสถานศึกษาทุกระดับและเจ้าหน้าที่ในสถานศึกษาต้องถือปฏิบัติด้วยเช่นกันผู้บริหารการศึกษาคือผู้ที่เป็นหัวหน้าสถานศึกษา คือ ครู อาจารย์ ผู้อำนวยการ และรวมไปถึงผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วย หรือรองของตำแหน่งผู้บริหารทุกระดับเป็นผู้มีความสำคัญต่อการจัดการและพัฒนาจริยศึกษาในสถานศึกษาเป็นอย่างยิ่งเพราะผู้บริหารการศึกษาเป็นทั้งผู้นำและเป็นผู้วางแผนการต่าง ๆ ในการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนทั้งหลายได้รู้จักและเข้าใจในหลักจริยธรรม เพื่อที่จะได้เป็นครูที่ดีได้ครับ

2.ให้นักศึกษาเล่าถึงวิธีการจัดห้องเรียนที่ดี มีกระบวนการทำอย่างไร หากมีภาพประกอบให้แทรกภาพมาด้วย
- วิธีการจัดห้องเรียนที่ดี ควรมีการจัดและกระบวนการ การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ คือ
                -การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ เป็นการจัดวัสดุอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน รวมตลอดไปถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เสริมความรู้ เช่น ป้ายนิเทศ มุมวิชาการ ชั้นวางหนังสือ โต๊ะวางสื่อการสอน ฯลฯ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้เกิดความสบายตา สบายใจ แก่ผู้พบเห็น ถ้าจะกล่าวโดยละเอียดแล้ว การจัดบรรยากาศทางด้ายกายภาพ ได้แก่ การจัดสิ่งต่อไปนี้
1.       การจัดโต๊ะเรียนและเก้าอี้ของนักเรียน
1.1   ให้มีขนาดเหมาะสมกับรูปร่างและวัยของนักเรียน
1.2   ให้มีช่องว่างระหว่างแถวที่นักเรียนจะลุกนั่งได้สะดวก และทำกิจกรรมได้คล่องตัว
1.3   ให้มีความสะดวกต่อการทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายเปลี่ยนรูปแบบที่นั่งเรียน
1.4   ให้มีรูปแบบที่ไม่จำเจ เช่น อาจเปลี่ยนเป็นรูปตัวที ตัวยู รูปครึ่งวงกลม หรือ เข้ากลุ่มเป็นวงกลม ได้อย่างเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน
1.5   ให้นักเรียนที่นั่งทุกจุดอ่านกระดานดำได้ชัดเจน
1.6   แถวหน้าของโต๊ะเรียนควรอยู่ห่างจากกระดานดำพอสมควร ไม่น้อยกว่า 3 เมตร ไม่ควรจัดโต๊ะติดกระดานดำมากเกินไป ทำให้นักเรียนต้องแหงนมองกระดานดำ และหายใจเอาฝุ่นชอล์กเข้าไปมาก ทำให้เสียสุขภาพ
 2.       การจัดโต๊ะครู
2.1   ให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม อาจจัดไว้หน้าห้อง ข้างห้อง หรือหลังห้องก็ได้ งานวิจัยบางเรื่องเสนอแนะให้จัดโต๊ะครูไว้ด้านหลังห้องเพื่อให้มองเห็นนักเรียนได้อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม การจัดโต๊ะครูนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดที่นั่งของนักเรียนด้วย
2.2   ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งบนโต๊ะและในลิ้นชักโต๊ะ เพื่อสะดวกต่อการทำงานของครู และการวางสมุดงานของนักเรียน ตลอดจนเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยแก่นักเรียน
 3. การจัดป้ายนิเทศ  ป้ายนิเทศไว้ที่ฝาผนังของห้องเรียน ส่วนใหญ่จะติดไว้ที่ข้างกระดาน
ดำทั้ง 2 ข้าง ครูควรใช้ป้ายนิเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน โดย
3.1    จัดตกแต่งออกแบบให้สวยงาม น่าดู สร้างความสนใจให้แกนักเรียน
3.2    จัดเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับบทเรียน อาจใช้ติดสรุปบทเรียน ทบทวนบทเรียน หรือเสริมความรู้ให้แก่นักเรียน
3.3    จัดให้ใหม่อยู่เสมอ สอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญ หรือวันสำคัญต่าง ๆ ที่นักเรียนเรียนและควรรู้
3.4    จัดติดผลงานของนักเรียนและแผนภูมิแสดงความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนจะเป็นการให้แรงจูงใจที่น่าสนใจวิธีหนึ่ง
 แนวการจัดป้ายนิเทศ
เพื่อให้การจัดป้ายนิเทศได้ประโยชน์คุ้มค่า ครูควรคำนึงถึงแนวการจัดป้ายนิเทศในข้อต่อไปนี้
1.       กำหนดเนื้อหาที่จะจัด ศึกษาเนื้อหาที่จะจัดโดยละเอียด เพื่อให้ได้แนวความคิดหลัก หรือสาระสำคัญ เขียนสรุป หรือจำแนกไว้เป็นข้อ ๆ
2.       กำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดโดยคำนึงถึงแนวความคิดหลักสาระสำคัญของเรื่องและคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายว่าต้องการเขารู้อะไร แค่ไหน อย่างไร
3.       กำหนดชื่อเรื่อง นับว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้ดู ชื่อเรื่องที่ดีต้องเป็นใจความสั้น ๆ กินใจความให้ความหมายชัดเจน ท้าทาย อาจมีลักษณะเป็นคำถามและชี้ให้เห็นวัตถุประสงค์ในการจัดแผ่นป้าย
4.       วางแผนการจัดคล่าว ๆ ไว้ในใจ ว่าจะใช้วัสดุอะไรบ้าง แล้วจึงช่วยกันจัดหาสิ่งเหล่านั้น อาจเป็นรูปภาพ แผนภาพ ภาพสเก็ตซ์ ของจริง หรือจำลอง การ์ตูน เท่าที่พอจะหาได้
5.       ออกแบบการจัดที่แน่นอน โดยคำนึงถึงสิ่งที่มีอยู่ โดยสเก็ตซ์รูปแบบการจัดลงบนกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายแผ่นป้าย ว่าจะวางหัวเรื่อง รูปภาพ และสิ่งต่าง ๆ ในตำแหน่งใด  คำบรรยายอยู่ตรงไหน ใช้เส้นโยงอย่างไรจึงจะน่าสนใจ ควรออกแบบสัก 2 - 3 รูแบบ แล้วเลือกเอารูปแบบที่ดีที่สุด
6.       ลงมือจัดเตรียมชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้มีขนาดและอยู่ในสภาพพร้อมที่จะขึ้นแสดงบนแผ่นป้ายได้อย่างเหมาะสม หัวเรื่องจะใช้วิธีใด ภาพต้องผนึกไหม คำบรรยายจะทำอย่างไร เตรียมให้พร้อม
7.       ลงมือจัดจริงบนแผ่นป้ายตามรูปแบบที่วางไว้ อาจทดลองวางบนพื้นราบในพื้นที่เท่าแผ่นป้ายก่อน เพื่อกะระยะที่เหมาะสมก่อนนำไปใช้จริง
4.   การจัดสภาพห้องเรียน ต้องให้ถูกสุขลักษณะ กล่าวคือ
4.1    มีอากาศถ่ายเทได้ดี มีหน้าต่างพอเพียง และมีประตูเข้าออกได้สะดวก
4.2    มีแสงสว่างพอเหมาะ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนอ่านหนังสือได้ชัดเจน เพื่อเป็นการถนอมสายตา ควรใช้ไฟฟ้าช่วย ถ้ามีแสงสว่างน้อยเกินไป
4.3    ปราศจากสิ่งรบกวนต่าง ๆ เช่น เสียง กลิ่น ควัน ฝุ่น ฯลฯ
4.4    มีความสะอาด โดยฝึกให้นักเรียนรับผิดชอบช่วยกันเก็บกวาด เช็ดถู เป็นการปลูกฝังนิสัยรักความสะอาด และฝึกการทำงานร่วมกัน
 5. การจัดมุมต่าง ๆ ในห้องเรียน   ได้แก่
5.1  มุมหนังสือ ควรมีไว้เพื่อฝึกนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้นักเรียนอ่านคล่อง ส่งเสริม      การค้นคว้าหาความรู้   และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ครูควรหาหนังสือหลาย ๆ ประเภท ที่มีความยากง่าย เหมาะสมกับวัยของนักเรียนมาให้อ่าน และควรหาหนังสือชุดใหม่มาเปลี่ยนบ่อย ๆ การจัดมุมหนังสือควรจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อสะดวกต่อการหยิบอ่าน
5.2 มุมเสริมความรู้กลุ่มประสบการณ์ต่าง ๆ ควรจัดไว้ให้น่าสนใจ ช่วยเสรมความรู้ ทบทวนความรู้ เช่น มุมภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา มุมความรู้ข่าว เหตุการณ์ ฯลฯ
5.3 มุมแสดงผลงานของนักเรียน ครูควรติดบนป้ายนิเทศ แขวนหรือจัดวางไว้บนโต๊ะ เพื่อให้นักเรียนเกิดความภูมิใจในความสำเร็จ และมีกำลังใจในการเรียนต่อไป อีกทั้งยังสามารถแก้ไขพัฒนาผลงานของนักเรียนให้ดีขึ้นโดยลำดับได้อีกด้วย
5.4 ตู้เก็บสื่อการเรียนการสอน เช่น บัตรคำ แผนภูมิ ภาพพลิก กระดาษ สี กาว ฯลฯ ควรจัดไว้ให้เป็นระเบียบ เป็นสัดส่วน สะดวกต่อการหยิบใช้ อุปกรณ์ชิ้นใดที่เก่าเกินไปหรือไม่ใช้แล้วไม่ควรเก็บไว้ในตู้ให้ดูรกรุงรัง
5.5 การประดับตกแต่งห้องเรียน ครูส่วนใหญ่มักนิยมประดับตกแต่งห้องเรียนด้วยสิ่งต่าง ๆ เช่น ม่าน มู่ลี่ ภาพ ดอกไม้ คำขวัญ สุภาษิต ควรตกแต่งพอเหมาะไม่ให้ดูรกรุงรัง สีสันที่ใช้ไม่ควรฉูดฉาด หรือใช้สีสะท้นแสง อาจทำให้นักเรียนเสียสายตาได้ การประดับตกแต่งห้องเรียน ควรคำนึงถึงหลักความเรียบง่าย เป็นระเบียบ ประหยัด มุ่งประโยชน์ และสวยงาม
5.6 มุมเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด ตลอดจนชั้นวางเครื่องมือเครื่องใช้ของนักเรียน เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน แก้วน้ำ กล่องอาหาร ปิ่นโต ฯลฯ ควรจัดวางไว้อย่างเป็นระเบียบ และหมั่นเช็ดถูให้สะอาดเสมอ

การจัดห้องเรียนซึ่งเป็นการจัดบรรยากาศที่กล่าวมาทั้งหมด แสดงได้ดังนี้  แสดงได้ดังรูป