วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเีรียน




ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
-จากบทความ  ความเป็นครูพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น  เปรียบเสมือนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นดั่งครูแห่งแผ่นดิน ครูของประเทศชาติ ครูของประชาชนทุกคนที่เป็นพสกนิกรของท่าน เพราะพระองค์ได้ทรงสอนถึงเรื่องการให้เราได้รู้จักถึง ดิน น้ำ ลม ไฟ สอนให้รู้จักการใช้ชีวิต รวมถึงการให้ความช่วยเหลือ เผื่อแผ่ถึงคนที่ทุกข์ยากลำบาก เนื่องจากความเป็นครูของท่านที่ได้สั่งสอนประชาชนทุกคนนั้น ไม่มีตำราใด ไม่มีมหาวอทยาลัยไหน ที่ได้สอนลึก เขาถึงเรื่องแบบนี้  ดังตัวอย่างโครงการมากมายที่ท่านได้ทรงคิดขึ้นมานอกจากท่านจะคิดแล้วท่านยังทำให้ดูอีกด้วย ทรงทำให้เห็นว่าการเป็นครูนอกจากการเรียนการสอนนอกชั้นเรียนแล้ว การทำให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง การให้นักเรียนได้เห็นเนื้อหาของวิชาที่แท้จริง โดยการทำให้ดูรวมถึงการฝึกให้นักเรียนคิดด้วยตนเองคิดได้คิดเป็น นอกจากนี้การเป็นครูที่ดีจะต้องปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนด้วย รวมถึงเปิดใจกว้างยอมรับความรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เสมอ ฝึกฝนพัฒนาตนเองให้มีความรู้ก้าวหน้า ทันกับสภาพแวดล้อมเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป แต่ทั้งหมดนี้ต้องอยู่ในความพอดีพอเพียงด้วย  เพื่อคนไทยจะได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ มีความเจริญทางด้านจิตใจ มากยิ่งขึ้น
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
-ในการเรียนการสอนปัจจุบันได้สอนนักเรียนเริ่มรู้จักที่จะคิด วิเคราะห์ ถ้าจะนำความรู้ที่ได้จากบทความมารประยุกต์ก็จะทำให้เกิดประโยชน์เป็นอย่างมาก สิ่งที่จะนำมาประยุกต์เป็นอันดับแรกๆที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสอน คือการรู้จักทำความดี เพราะความเป็นปัจจัยพื้นฐานในการคิด ริเริ่มพัฒนาศักยภาพของตนเอง ความดีนั้นทำยาก แต่การรักษาความดีให้คงอยู่นั้นทำยากยิ่งกว่า เราควรรู้จักปรับตัว ให้เป็นแบบอย่างเหมือนกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงจะทำให้นักเรียนที่เราสอนนั้นดูครูเป็นแบบอย่าง และอีกหลายอย่างที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้สอนนักเรียนได้ คือ การปลูกฝังความรู้  ความคิด  และจิตใจของเยาวชน โดยมีหลักวิชาที่ถูกต้อง มีทั้งคุณความดี  และเอื้ออารีปรารถนาดีที่จะถ่ายทอด  เผื่อแผ่ให้แก่ผู้อื่นให้มีความรู้ความเข้าใจที่ดี  นอกจากนี้สอนให้ผู้เรียนดำรงชีวิตอยู่อย่างเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นการฝึกทักษะ และเป็นประโยชน์อย่างมากในอนาคตของผู้เรียน จะทำให้เขาเป็นคนที่มีประสิทธิภาพในการดำรงชีวิตมากยิ่งขึ้น
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
                -ในการออกแบบการเรียนการสอนจากบทความนี้ไปใช้สอนนักเรียนในรายวิชาสังคมนั้น ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในสังคม อยู่อย่างไรให้เป็นคนที่ทันต่อคนอื่น ไม่สุดโต่ง เป็นคนที่มีความพอดี เพราะจะนำแนวคิดนี้ไปสอนให้เขารู้จักความดี อยู่อย่างพอเพียง นำหลักเศรษฐ์กิจพอเพียงมาสอนควบคู่กับวิชาในกลุ่มสังคม ให้เขารู้จักวางแผน มีความรอบคอบ ควบคู้กับความรู้ที่ได้รับ และนำความรูที่ได้นั้นไปใช้อย่างถูกต้อง มีจริยธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วยครับ จะถือได้ว่าแนวคิดนี้ เป็นแนวคิดที่ดี จะได้เป็นหลักในการดำเนิน แนวทาง ให้แก่คนรุ่นหลังอีกด้วยครับ

บทความเรื่อง  วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบ
               1. ข้อสรุปที่ได้จากการอ่านบทความ
                         -การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา  แต่ละเขตพื้นที่ประกอบด้วย 3 คณะ คือ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษามีหน้าที่หลักในการดูแล ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ในลักษณะทั่วไป คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา มีหน้าที่หลักในการดูแลงานเชิงวิชาการ งานประกันคุณภาพการศึกษา และ อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา มีหน้าที่หลักในการดูแลงานด้านการบริหารงานบุคคล  
                        -สภาพปัจจุบัน  ปัญหาและความต้องการของเขตพื้นที่การศึกษา  พบว่า  การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย  และการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถรับเด็กเข้าเรียนได้สูง  และอัตราเรียนต่อสูงขึ้นทุกปี  อัตราการออกกลางคันลดลง  ผู้ปกครองต้องการให้เด็กเรียนสูงขึ้น  แต่สถานศึกษาในชนบทส่วนใหญ่   เป็นสถานศึกษาขนาดเล็ก  ครูผู้สอนมีน้อย และเด็กส่วนใหญ่ไม่มีความรู้มากนัก เพราะเรียนแค่ ม.3 หรือ ม.6 เท่านั้น จึงทำให้การว่างงานนั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ
                   2. ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
                -เมื่อผมเป็นครูผู้สอนจะนำความรู้ที่ได้นี้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนโดยการให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  ครู  ผู้บริหาร  บุคลากรทางการศึกษา  และสถานศึกษา นอกจากนี้ผมขอน้อมนำแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  หลักการทรงงานและหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  เป็นแนวทางการพัฒนา
            3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร         
               - ถ้าผมเป็นครูในอนาคต ผมก็สามารถที่จะนำแนวคิดของบทความนี้ไปใช้ในการออกแบบการสอนโดย ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเข้าใจ ครูต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้รับความรู้โดยการให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้จากกิจกรรมที่ครูจัดให้ไม่ใช่ครู  เป็นภาษาของตนเองครับ เพื่อให้เป็นองค์ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวของผู้เรียน และสุดท้ายต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้นำองค์ความรู้นี้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆ ที่เป็นสถานการณ์ที่เป็นสภาพจริง สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เพื่อเขาจะได้เป็นบุคคลที่ทันต่อยุคโลกาภิวัจน์ครับ

กิจกรรมที่ 7


ให้นักศึกษาศึกษาดูโทรทัศน์ครู ให้เลือกเรื่องที่นักศึกษาสนใจมาคนละ 1 เรื่อง
1.สอนเรื่อง :เศรษฐศาสตร์ในครัวเรือน
   อาจารย์ผู้สอน :  อ.ประนอม คันสร
   ระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนจ่านกร้อง               
2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
                -การใช้ทรัพยากรในการผลิตสินค้าและบริการในหน่วยครัวเรือน เนื่องจากทรัพยากรมีจำนวนจำกัดทำให้ผู้ผลิตต้องเผชิญกับปัญหาว่าจะใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในการผลิตสินค้าอะไร  จึงจะเป็นประโยชน์มากที่สุด  จะทำการผลิตโดยมีขั้นตอนมีเทคนิคและวิธีการผลิตอย่างไร  จึงจะได้ผลผลิตเป็นจำนวนมากที่สุด  และจะทำการผลิตสินค้าและบริการเพื่อบริโภคหรือเพื่อจำหน่ายให้แก่บุคคลกลุ่ม ใด  จึงจะจำหน่ายได้หมดและได้กำไรสูงสุด
         ในการตัดสินใจเลือกทรัพยากรเพื่อการผลิตเพื่อการจำหน่ายของหน่วยครัวเรือนจะ ต้องคำนึงถึงเงินทุนที่ต้องจ่ายในการผลิต  ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการผลิต  ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ศีลธรรม และผลกระทบต่อสังคม
3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
                -การสอนในชั่วโมงนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนมีความรู้เรื่องการบริโภค การเลือกซื้อสินค้า การออมเงินและการทำบัญชีรับจ่ายในครัวเรือน ผู้สอนให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม แล้วให้ใบงาน ให้นักเรียนวางแผนการซื้อสินค้าจากเอกสารประชาสัมพันธ์สินค้าของห้างบิกซี ห้างโลตัส นักเรียนวางแผนการซื้อสินค้าต่างๆแล้วคำนวณว่าต้องใช้เงินเท่าไร แล้วครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาในหัวข้อที่กำหนด นักเรียนจะต้องถ่ายทอดความรู้เป็นรูปภาพ แล้วส่งตัวแทนมานำเสนอผลงานหน้าห้องเรียน นักเรียนได้มีการประชุมกลุ่ม มีการทำงานร่วมกัน หลังจากนั้นนักเรียนจะต้องเขียนบัญชีการรับจ่ายส่งครูเป็นรายบุคคลทุกสัปดาห์ ตลอดหนึ่งภาคเรียน ครูจะได้เห็นการใช้จ่ายของนักเรียน ทราบว่านักเรียนใช้เงินทำอะไรบ้าง นักเรียนบางคนใช้เงินในการเล่นเกมคอมพิวเตอร์มาก เมื่อได้ทำบัญชีก็จะเห็นรายจ่ายของตน ทำให้ยุติการใช้เงินในการเล่นคอมพิวเตอร์เป็นต้น นักเรียนจะรู้จักการวางแผนการออมทรัพย์
4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
                 -ในห้องเรียนการ สอนโดยให้นักเรียนทำงานกลุ่ม ประชุมปรึกษาหารือและนำเสนอผลงานเช่นนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆได้ทุกกลุ่มและทุกระดับใช้ โดยประยุกต์เนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียน
                -ครูมีความสนใจและเอาใจใส่ในการทำงานกลุ่มของนักเรียน นักเรียนทุกคนมีโอกาสแสดงความสามารถในการทำงานกลุ่ม ไม่เอาเปรียบเพื่อนหรือปล่อยให้เป็นภาระของเพื่อนคนใดคนหนึ่ง การติดตามการเขียนบัญชีรับจ่ายส่งครูทุกอาทิตย์
                -นักเรียนมีความสนุกสนานกับการเลือกซื้อสินค้าต่างๆ ให้เขาได้เสนอของที่เขาต้องการ

กิจกรรมที่ 6


วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 5



ประวัติ
นายเลอสรร ตระกูลเงินไทย


นายเลอสรร ตระกูลเงินไทย ตำแหน่ง ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสุรินทร์ภักดี ตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1
เกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2501 ณ บ้านเมืองที ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และได้ย้ายตามครอบครัวไปอยู่ที่ บ้านท่าสว่าง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2503 เนื่องจากบิดาได้เดินทางมารับราชการที่ภูมิลำเนาเดิม
ประวัติการศึกษา
- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 ที่โรงเรียนวัดสามัคคี ตำบลท่าสว่าง
- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-7 ที่โรงเรียนเมืองสุรินทร์
- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ที่โรงเรียนสุรวิทยาคาร
- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 ที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนครฯ
- จบปริญญาตรี จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิชาเอกพลศึกษา วิชาโทจิตวิทยาการศึกษาและ
การแนะแนว (ศศ.บ.) ปีพ.ศ.2522
- จบปริญญาโท จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิชาเอกพลศึกษา วิชาโทจิตวิทยาการศึกษาและ
การแนะแนว (ศศ.ม.) ปีพ.ศ. 2535
ประวัติการทำงาน
เริ่มเข้ารับราชการในตำแหน่งอาจารย์1 ระดับ3 ที่โรงเรียนประสาทวิทยาคาร ดำรงตำแหน่งครูใหญ่,อาจารย์ใหญ่โรงเรียนไทรแก้ววิทยา ผู้อำนวยการโรงเรียนกุดไผทประชา-สรรค์,ผู้อำนวยการโรงเรียนโคกยางวิทยา และปัจจุบันผู้อำนวยการโรงเรียนสุรินทร์ภักดี
ประสบการณ์การทำงาน
- อดีตคณะกรรมการสภานักเรียน โรงเรียนอำนวยศิลป์
- อดีตประธานเชียร์ คณะศึกษาศาสตร์ และคณะกรรมการนักศึกษาชั้นปีที่ 3
- อดีตนักกีฬามหาวิทยาลัย (มวยไทย ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- วิทยากร ให้ความรู้ด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ ด้านกิจกรรม ฯลฯ
- พิธีกร การดำเนินรายการในงานพิธีต่างๆ
- กรรมการตัดสินกีฬา เทนนิส วอลเลย์บอล มวย ฯลฯ
ประวัติการอบรมและศึกษาดูงาน
- ผ่านการอบรมผู้บริหารสถานศึกษาระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ
- ผ่านการอบรม กรรมการตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล,เทนนิส จากสมาคมฯ
- ผ่านการอบรมการพัฒนาบุคลิกภาพ, เทคนิคการเป็นพิธีกร
- ผ่านการอบรมหลักสูตรชุมชนเข้มแข็ง,หลักสูตรยุทธวิธีการเขียนแผนเชิงปฏิบัติการและการประเมินผลโครงการตามแนวปฏิรูปการศึกษา จากสถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษาฯ
- ผ่านการอบรมวิทยากร ด้านวิชาการ,ด้านการบริหารโรงเรียน ฯลฯ
- ศึกษาดูงานการจัดการศึกษาที่ประเทศ ออสเตรเลีย ตามโครงการพัฒนาบุคลากรของสำนักงานสามัญศึกษา จังหวัดสุรินทร์
- ศึกษาดูงานการจัดการศึกษาที่ประเทศนิวซีแลนด์ ในโครงการ Educator Program ของ AFS
- ศึกษาดูงานการจัดการศึกษา ที่ประเทศลาว,กัมพูชา,เวียดนาม,เมืองต้าเหลียนประเทศจีน
ผลงานของครูที่ผมชอบ
- ผู้บริหารดีเด่น โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก เขตการศึกษา 11
- ผู้บริหารดีเด่น โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย
- ผู้บริหารดีเด่น ของคุรุสภา อำเภอปราสาท
- ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1
ประยุกต์ในสิ่งดีของครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง
เจตนารมณ์ในการปฏิบัติงานของครูเป็นสิ่งที่ดีมากในการพัมนาตนเองในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ               การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์พร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา นั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่ความสมบูรณ์จะเป็นไปได้ยาก หากขาดการฝึกฝนที่ถูกต้องดีงาม การศึกษาจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญยิ่งในการช่วยให้มนุษย์มีความสมบูรณ์ ดังกล่าว
ครูที่ดีมีความรู้ ครูที่ทุ่มเทเพื่อศิษย์ เป็นครูด้วยจิตวิญญาณมีมากหลาย สังคมให้ความเคารพ นับถือ เป็นกำลังใจที่ดีเยี่ยม ขอคุณครูทั้งหลายจงภาคถูมิใจในการทำความดีด้วยจิตอันบริสุทธิ์ อานิสงค์จากการทำความดีจะส่งผลต่อคุณครูและครอบครัวอย่างแน่นอน
เราจะสร้างนักเรียนที่มี คุณภาพควบคู่คุณธรรม เพื่อสร้างคุณประโยชน์ และดำรงตนอย่างมีคุณค่าอยู่สังคม

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 4


สรุป เรื่อง การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
การทำงานเป็นทีม  การทำงานให้สำเร็จขึ้นอยู่กับความสามารถสองอย่างเป็นสำคัญ    คือสามารถในการใช้วิชาความรู้อย่างหนึ่ง  สามารถในการประสานสัมพันธ์กับผู้อื่นอีกอย่างหนึ่ง  ทั้งสองประการนี้ต้องดำเนินคู่กันไป  และจำเป็นต้องกระทำด้วยความสุจริตกาย  สุจริตใจ  ด้วยความคิด  ความเห็นที่เป็นอิสระ  ปราศจากอคติ และด้วยความถูกต้อง   ตามเหตุตามผลด้วย  จึงจะช่วยให้งานบรรลุจุดหมายและประโยชน์ที่พึงประสงค์โดยครบถ้วน    
การร่วมกันทำงานของสมาชิกที่มากกว่า 1 คน โดยที่สมาชิกทุกคนนั้นจะต้องมีเป้าหมายเดียวกันจะทำอะไรแล้วทุกคนต้องยอมรับร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน
              การทำงานเป็นทีมมีความสำคัญในทุกองค์กรการทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารงานการทำงานเป็นทีมมีบทบาทสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือของกลุ่มสมาชิกเป็นอย่างดี

             1.       แนวคิดหลักการทำงานเป็นทีม เป็นอย่างไร     
 ตอบ  แนวคิดหลักการทำงานเป็นทีม เป็นดังนี้
1. การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของบุคคล หมายถึง การที่สมาชิกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีความเกี่ยวข้องกันในกิจการของกลุ่ม / ทีม ตระหนักในความสำคัญของกันและกัน แสดงออกซึ่งการยอมรับ การให้เกียรติกัน สำหรับกลุ่มขนาดใหญ่มักมีปฏิสัมพันธ์กันเป็นเครือข่ายมากกว่าการติดต่อกันตัวต่อตัว
        2. มีจุดมุ่งหมายและเป้าหมายร่วมกัน หมายถึง การที่สมาชิกกลุ่มจะมีส่วนกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมร่วมกันของทีม / กลุ่ม โดยเฉพาะจุดประสงค์ของสมาชิกกลุ่มที่สอดคล้องกับองค์การ มักจะนำมาซึ่งความสำเร็จของการทำงานได้ง่าย
        3. การมีโครงสร้างของทีม / กลุ่ม หมายถึง ระบบพฤติกรรม ซึ่งเป็นแบบแผนเฉพาะกลุ่มสมาชิกกลุ่มจะต้องปฏิบัติตามกฏหรือมติของกลุ่ม ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มแบบทางการ (Formal Group) หรือกลุ่มแบบไม่เป็นทางการ (Informal Group) ก็ได้ สมาชิกทุกคนของกลุ่มจะต้องยอมรับและปฏิบัติตามเป็นอย่างดี สมาชิกกลุ่มย่อย อาจจะมีกฎเกณฑ์แบบไม่เป็นทางการ มีความสนิทสนมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างสมาชิกด้วยกัน
        4. สมาชิกมีบทบาทและมีความรู้สึกร่วมกัน การรักษาบทบาทที่มั่นคงในแต่ละทีม / กลุ่ม จะมีความแตกต่างกันตามลักษณะของกลุ่ม รวมทั้งความรู้ความสามารถของสมาชิก โดยจีการจัดแบ่งบทบาทและหน้าที่ ความรับผิดชอบ กระจายงานกันตามความรู้ ความสามารถ และความถนัดของสมาชิก 
         การทำงานเป็นทีมเป็นแรงจูงใจสำคัญที่จะผลักดันให้ท่านเป็นผู้นำที่ดี ถ้าท่านประสงค์ที่จะนำทีมให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน ท่านจำเป็นต้องค้นหาคุณลักษณะของการทำงานเป็นทีมให้พบระลึกไว้เสมอว่าทุกคนมีอิสระในตัวเอง ขณะเดียวกันก็เป็นส่วนหนึ่งของทีม แล้วจึงนำเอากลยุทธ์ในการสร้างทีมเข้ามาใช้เพื่อให้ทุกคนทำงานร่วมกันและประสบความสำเร็จ



 2. นักศึกษาจะมีวิธีการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร ยกตัวอย่างประกอบ
  ตอบ   การทำงานให้มีประสิทธิภาพมีหลายวิธี วิธีที่ผมคิดว่าน่าจะดีคือ
- มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน 
              - จัดการด้วยตนเอง 
              - พึ่งพาตัวเอง 
              - ขนาดของกลุ่มที่พอเหมาะ 
        ตัวอย่างเช่น ทีมมีความเป็นหนึ่งเดียวกันสมาชิกของทีมที่ประสบความสำเร็จในการทำงานจะต้องมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ทุก ๆ คนจะถูกดึงเข้ามาในทิศทางเดียวกันเพื่อให้บรรลุความสำเร็จในงาน และ / หรือบรรลุเป้าหมายร่วมกัน โดยทั่วไปแล้วงาน และ / หรือเป้าหมายอาจบรรลุได้เมื่อทำงานร่วมกันแทนที่จะต่างคนต่างทำ           ทีมงานที่มีประสิทธิภาพจะมีลักษณะโดดเด่นและสมาชิกทุกคนมีความรู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วมในความสำเร็จด้วย จัดการด้วยตนเอง 

ทีมงานที่ประสบความสำเร็จในการทำงานมีแนวโน้มว่าจะสร้างโครงสร้างเฉพาะตนขึ้นมา เนื่องจากสมาชิกยอมรับบทบาท ของตนในเวลาต่าง ๆ กัน คล้อยตามความจำเป็น ความต้องการและความสามารถของตน บางคนอาจมีประสบการณ์ในงานเฉพาะอย่างจึงอาจเป็นคนจัดการให้คนอื่น ๆ ทำตาม คนอื่น ๆ ก็จะทำหน้าที่ในกิจกรรมของตนไปในงานที่เขาคุ้นเคย พฤติกรรมเหล่านี้จะถูกพัฒนาไปในแนวของโครงสร้างองค์กร และสมาชิกทุกคนจะต้องปฏิบัติตามพึ่งพาตัวเองสมาชิกของทีมที่ประสบความสำเร็จในการทำงานจะร่วมมือกับคนอื่น ๆ เพื่อทำงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งหรือทำให้เป้าหมายสำเร็จอย่างไม่หลีกเลี่ยง ร่วมกันทำงานตามกำลังความสามารถของตนเอง ให้คำปรึกษาแนะนำและชักจูงเมื่อจำเป็น ร่วมประสานงานในหน้าที่และแก้ไขปัญหาอุปสรรคร่วมกัน ทุกคนต่างเอื้ออาทรช่วยเหลือกันและมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ถ้ามีบุคคลหนึ่งบุคคลใดทำงานเกินกำลังหรือประสบปัญหายุ่งยากอันใดพวกเขาจะร่วมมือกัน เช่น อาจปกปิดคนที่มาทำงานสายหรือ เลิกงานก่อนเวลา           ขนาดของกลุ่มที่พอเหมาะโดยทั่วไปแล้วทีมงานที่ประสบความสำเร็จในการทำงานมักจะมีขนาดพอเหมาะไม่ใหญ่โตเกินไปนัก เพื่อให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มสามารถเข้ามามีส่วนร่วมสร้างสรรค์และจัดการด้วยตัวเองได้ แบ่งงานกันทำอย่างยุติธรรม แบ่งปันความคิดเห็นและความรู้สึกอย่างเปิดเผย ร่วมกันคิดแก้ปัญหาอย่างฉับไวและทันกาล สมาชิกสัก 5 คนต่อทีมเป็นขนาดที่กำลังพอดี ถ้ามากไปกว่านั้นอาจเสียเวลาในการอภิปรายกลุ่ม ในขณะที่สมาชิกคนหนึ่งหรือสองคนกำลังทำงาน คนอื่น ๆ อาจไม่เข้าไปมีส่วนร่วมมากนัก อาจมีการจัดกลุ่มที่มีสมาชิกน้อยกว่า 5 คน ซึ่งจะมีบุคคลที่มีความสามารถไม่เพียงพอ หรือมีความรู้ไม่เพียงพอ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในงานก็อาจไม่เพียงพอที่จะทำให้งานสำเร็จอย่างเรียบร้อย แต่ไม่ว่ากลุ่มจะมีสมาชิกมากน้อยเพียงใดก็ตาม ท่านอาจไม่อยู่ในสถานะที่จะคัดเลือกได้ จำนวนสมาชิกเลขคี่จะดูสมเหตุสมผลกว่าเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญปัญหาเสียงครึ่งหนึ่งเห็นอย่างหนึ่งเสียงอีกครึ่งหนึ่งเห็นอีกแบบหนึ่งในการตัดสินปัญหาใด ๆ การรู้จักเพื่อนร่วมทีมอีกอย่างหนึ่งที่ควรจำก็คือท่านไม่ควรมีทัศนะต่อเพื่อนร่วมทีมทุกคนว่าจะมีประสิทธิภาพเป็นแบบเดียวกัน เพราะทุกคนจะมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกันไป จึงควรพิจารณาให้ต่างทัศนะกันไป อย่างไรก็ตามบางคนก็อาจมีบุคลิกที่คล้ายคลึงกันแบบที่เราจะกล่าวต่อไป แต่โปรดระมัดระวังอย่าไปคิดว่าคุณลักษณะที่สมบูรณ์ของแต่ละคนจะไม่เหมือนกันทีเดียวนัก เพราะว่าเขาหรือเธออาจมีเพียงบางอย่างที่สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องรู้จักคนแต่ละคนเป็นอย่างดีครับ จึงจะทำให้การทำงานเป็นทีมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นครับ


วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 3



1. การจัดการเรียนการสอน  จัดชั้นเรียน  เตรียมการสอน ในยุคศตวรรษที่ 21กับยุคก่อนศตวรรษที่ 21 เปรียบเทียบกันแตกต่างกันอย่างไร 
        ตอบ    ยุคก่อนศตวรรษที่ 21  ประเทศไทยได้เตรียมความพร้อม โดยมีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลต่อภาคธุรกิจ  การศึกษา  สังคม  ซึ่งเน้นการให้ความสะดวกในด้านการบริหารจัดการ  และให้เกิดความคล่องตัวต่อการดำเนินงานไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน    เพื่อเปิดประตูสู่การพัฒนาประเทศ  ทั้งนี้ได้เน้นนโยบายหลักทางด้านสังคม  เพื่อลดช่องว่างทางสังคม  เปิดเสรีทางการค้า  สนับสนุนการค้าอิเล็กทรอนิกส์  นโยบายระหว่างประเทศ  ผลักดันโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
แต่ใน ยุคศตวรรษที่ 21 การจัดการศึกษาไทยในโรงเรียนเป็นหน่วยบริการทางการศึกษาในมิติที่กว้างขึ้น หลักสูตรการเรียนการสอนมีความเป็นสากลมากขึ้น และจะมีการพัฒนาทักษะการคิด  การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม การสอนภาษาต่างประเทศ  และด้านการบริหารและการจัดการศึกษา  เน้นจะด้านการจัดพิมพ์เอกสาร  ทำฐานข้อมูลประมวลผล  เพื่อจัดทำการสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับการประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารในทุกระดับครับ


2.ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรในอนาคตที่ท่านจะเป็นครูยุดต่อไปข้างหน้า ให้สรุปตามแนวคิดของนักศึกษา
ตอบ การจัดการเรียนรู้ในอนาคตครูที่ดีจะต้องเป็นครูที่มีความพร้อมอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นความพร้อมที่จะมาสอนหรือความพร้อมของเนื้อหาและในการจัดการเรียนรู้ควรจัดให้มีความหลากหลายเพราะผู้เรียนมีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน และต้องให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็นที่จะเรียนรู้ ในการเรียนควรจะใช้ระบบเครือข่ายเพื่อศึกษาสิ่งอื่นที่รอบด้านและเป็นคนที่ทันต่อโลกาภิวัจน์อยู่ตลอดเวลา จึงจะเป็นครูที่สามารถปรับการเรียนการสอนอยู่ได้ตลอดเวลา พร้อมยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงได้ครับ

กิจกรรมที่2


ทฤษฎีการบริหารการศึกษา

มาสโลว์
มาสโลว์ เป็นเจ้าของทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ลำดับ ได้แก่ 
1. 
ความต้องการทาง (Physiological Needs)กายภาพ หมายถึงความต้องการพื้นฐานของร่างกายซึ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ได้แก่ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ เสื้อผ้า 
2.
ความต้องการความปลอดภัย(Safety Needs) หมายถึง ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ 
3. 
ความต้องการทางสังคม(Social Needs)ม หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น 
4.
ความต้องการยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs) หมายถึง ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่ามีคุณค่า
5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต(SelfActualizationNeeds)หมายถึงความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริงเพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์
William Ouchi : ทฤษฎี Z

เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์ แต่ทฤษฎีร่วมสมัยบางอย่างที่เกิดขึ้นมาใหม่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นทฤษฎี แต่อยู่ระหว่างการศึกษาทดลองเพื่อปรับให้เป็นทฤษฎี

Henry Fayol : บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่
เชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ประการ คือ การวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ  การประสานงาน การควบคุม และประสบการณ์ด้านการบริหารองค์การของรัฐขนาดใหญ่ เขาเรียกว่า หลักการจัดการ 14 ประการ ซึ่งมีดังนี้  การจัดแบ่งงาน การมีอำนาจหน้าที่  ความมีวินัย  เอกภาพของสายบังคับบัญชา   เอกภาพในทิศทาง  ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน  มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม   ระบบการรวมศูนย์   สายบังคับบัญชา  ความเป็นระบบระเบียบ  ความเท่าเทียมกัน  ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร  การริเริ่มสร้างสรรค์และวิญญาณแห่งหมู่คณะ

Max Weber : ทฤษฎีการจัดการตามระบบราชการ
ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า bureaucracy เขาเห็นว่าเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสม

Luther Gulick
ผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการมาใช้ในการบริหารจัดการ ในวงการบริหารจะรู้จักกิจกรรมทั้ง 7 ประการนี้เป็นอย่างดี มีคำย่อว่า POSDCORBมีการนำรูปแบบการบริหารจัดการของLuther Gulick ไปใช้ในการบริหารองค์กรสมัยใหม่อย่างกว้างขวาง แนวความคิดที่นำเอามุมมองทั้ง 7 ด้านมาใช้นั้นสอดคล้องกับทฤษฎีการบริหารจัดการของ Henri Fayol



บทที่ 1 มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
     
                  ความหมายของการบริหารศึกษา คือ การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมมือกันทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน อย่างเป็นกระบวนการและระบบภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่
      1. การบริหารจะต้องควบคู่กับการดำรงชีพของมนุษย์ เป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์ดำรงชีพร่วมกันได้อย่างมีความสุข
      2.เป็นเครื่องบ่งชี้ให้ทราบถึงความเจริญก้าวหน้าของสังคม และความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการด้านต่าง ๆ
      3.ทำให้ทราบถึงแนวโน้มทางการศึกษาทั้งในด้านความเจริญและความเสื่อมของสังคมในอนาคต
             


บทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่าง ๆ และการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา

           1.วิวัฒนาการด้านรัฐกิจ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครอง  เกี่ยวกับกฏหมายต่าง ๆ ของรัฐ ซึ่งสามารถจำแนกวิวัฒนาการทางด้านการศึกษาได้ ดังนี้ 
             ระยะที่ 1 โครงสร้างการบริหารจะเป็นไปในรูปองค์การรูปนัย
             ระยะที่ 2 การศึกษาเรื่องการบริหาร วึ่งเน้นพฤติกรรมองค์การ และเรื่องของมนุษยสัมพันธ์ยิ่งขึ้น
             ระยะที่ 3 นำการศึกาามาผสมกับแนวคิดในระยะที่ 1 และที่ 2 เข้าด้วยกัน คือ พิจารณาทั้งรูปและโครงสร้างขององค์การและตัวบุคคล เป็นสำคัญ
           2. วิวัฒนาการด้านธุรกิจ
               - เป็นการพัฒนาหลักการบริหารที่ได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะการปฏิวัติอุตสาหกรรม จึงทำให้เกิดวิธีการบริหารที่ทันสมัย ประกอบกับเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม และต้นศตวรรษที่ ๑๙ ได้เกิดวิวัฒนาการทางการจัดการขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์
           3. การแบ่งยุคของนักทฤษฏีการบริหาร
               3.1 ยุคที่ 1 นักทฤษฏีการบริหารสมัยเดิม ซึ่งมีอยู่ 2 สาย คือ สายบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์ และสายทฤษฏีองค์การสมัยเดิม
              3.2 การประยุกต์ใช้หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ในการบริหารการศึกษา
              3.3  ยุคที่ 2 ยุค Human Relation Era ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ 
              3.4 การประยุกต์ใช้หลักมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารการศึกษา
              3.5 ยุคที่ 3 ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริหาร 
              3.6 การประยุกต์ใช้พฤติกรรมศาสตร์ในการบริหารการศึกษา 
              3.7 ทฤษฎีองค์การเชิงระบบ
              3.8 การประยุกต์เชิงระบบการบริหารการศึกษา



บทที่ 3 งานบริหารการศึกษา

งานของผู้บริหารการศึกษาโดยทั่วไปแล้วจะแบ่งออกเป็น  3 ประเภท คือ
1. งานที่คนนอกมองว่าเป็นงานที่ผู้บริหารกำลังอยู่
2. งานที่คนนอกคิดว่าผู้บริหารควรทำ
3. งานที่ผู้บริหารการศึกษาเองคิดเองว่าเป็นความรับผิดชอบที่ตนต้องทำ
ภารกิจของการบริหารการศึกษา ก็คือ สิ่งที่ผู้บริหารหรือควร สามารถจำแนกได้ คือ
1. จำแนกตามลักษณะและขอบข่ายของงานบริหารการศึกษา ซึ่งมี 5 ประเภท คือ ทำงานประสานกับประชาชน การบริหารงานธุรการต่างๆ  พัฒนาอาคารสถานที่ การบริหารด้านวิชาการ และการให้บริการกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการการศึกษา
2. จำแนกตามบทบาทและพฤติกรรมการบริหาร
องค์ประกอบทางส่วนบุคคล
1.
 เจตคติ ค่านิยม ความเชื่อ อุปนิสัย การรับรู้
2. ความสามารถ
3. ลักษณะทางสังคมจิตวิทยา
องค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อม
1.
 ขนบธรรมเนียมประเพณีทางสังคม
2. ลักษณะของชุมชน
3. ธรรมชาติของรัฐ
Competency ของบริหารการศึกษาไทย สรุปได้ดังนี้
1. งานพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
2. งานบริหารบุคคล
3. งานนิเทศการศึกษา
4. งานบริหารงบประมาณและการเงิน
5. งานบริหารอาคารสถานที่และอุปกรณ์
6. งานธุรการและบริการส่งเสริมการศึกษา
7. งานกิจการนักเรียน
8. ความสัมพันธ์กับชุมชน
9. การประเมินผลงานของโรงเรียน
ทักษะที่ใช้เพื่อการบริหารงานการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมี ดังนี้
1. ไม่ต้องแก่งแย่งแข่งขัน
2. ไม่ต้องการเครื่องจักรระบบราชการให้มามีอำอาจเหนือคน
3. ไม่ต้องการเป็นคนปัญญาอ่อน หุ่นยนต์ ตุ๊กตาไขลาน
4. ไม่ต้องการเป็นเศษส่วนของความเป็นคน
5. ต้องการทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง
6. ต้องการเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย



บทที่ 4  กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษา คือ กิจกรรมต่าง ๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการเพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน ประชาชน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยมุ่งให้คนเหล่านี้ เป็นคนดีมีคุณภาพ ประกอบภารกิจในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการพัฒนาคนในทุกๆด้าน จะต้องอาศัยระเบียบแบบแผนและที่ไม่เป็นระเบียบแบบแผน ทั้งคนที่อยู่ในโรงเรียนและคนที่อยู่นอกโรงเรียน
บทที่ 5 องค์การและการจัดองค์การ

            
องค์การ หมายถึงโครงสร้างหรือกระบวนการที่กลุ่มจัดตั้งขึ้นมีการกำหนดกิจกรรม หรืองานออกเป็นประเภทต่างๆ และมอบหมายความรับผิดชอบในกิจกรรมนั้นๆ ให้แก่สมาชิกได้ดำเนินการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย มี 4 ระบบ คือ
1.
ระบบโครงสร้างการบริหาร  เน้น โครงสร้างกระบวนการ
2.
ระบบทางด้านเทคนิค เน้น วิธีดำเน้นงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3.
ระบบสังคม เน้น การทำงานของคนในองค์การ
4.
ระบบกิจกรรมและการทำงาน เน้น ทั้งการผสมและการให้บริการ

บทที่ 6  การติดต่อสื่อสาร

การติดต่อสื่อสารเป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการบริหารที่สำคัญ ผู้บริการจะบริหารได้ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการบริหาร
การติดต่อสื่อสาร คือ การที่บุคคลทั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือข่าวสารกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจกันระหว่างกันหรือเพื่อให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ความสำคัญของการสื่อสาร
            1.การสื่อสารมีความจำเป็นมากขึ้นเนื่องจากการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในองค์การ จะไม่สามารถจะใช้วิธีการสื่อสารปกติธรรมดาในชีวิตประจำวันได้อีกต่อไป
            2.แม้ว่าองค์การจะใช้เครื่องมือแทนการทำงานของมนุษย์ แต่การสื่อสารจะต้องถูกนำมาใช้ในรูปการสื่อความหมาย
กระบวนการติดต่อสื่อสาร
1.       สื่อที่ใช้ในการติดต่อ
2.       ช่องทางที่สื่อจะผ่าน คือ เครือข่าย
3.       กระบวนการ คือ ขั้นตอนที่เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ
4.       เสียงรบกวนที่กีดขวางการติดต่อสื่อสาร
5.       ข้อมูลป้อนกลับในการติดต่อสื่อสาร
6.       สถานการณ์และปัจจัยขององค์การในการติดต่อสื่อสาร
องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสาร มี 5 ประการ คือ
1.       ผู้ทำการติดต่อสื่อสาร
2.       ติดต่อสื่อสารด้วยการพูด การส่งหรือการออกกำสั่ง
3.       ด้วยข่าวสาร
4.       ผู้รับการติดต่อสื่อสาร
5.       การตอบรับ
รูปแบบการติดต่อสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.       การติดต่อสื่อสารแบบพิธีการ        
2.       การติดต่อสื่อสารแบบไม่เป็นพิธีการ

บทที่ 7 ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ หมายถึง  บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในการพูดโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นให้ร่วมมือกันในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้นำ คือ การอำนวยการ การจูงใจ การริเริ่ม การประนีประนอม การประสานงาน ควบคุมงาน ตรวจตรา กำหนดนโยบายวินิจจัยสั่งการ

บทที่ 8 การประสานงาน
การประสานงาน คือ การจัดระเบียบการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ร่วมมือปฏิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่ทำงานซับซ้อนกัน ขัดแย้งกัน และเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น
ความมุ่งหมายในการประสานงาน
1.       ช่วยให้คุณภาพและผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์
2.       เพื่อขจัดความซับซ้อนกันของการทำงานโดยไม่จำเป็น อันจะนำมาซึ่งความสิ้นเปลือง กำลังคน กำลังเงิน
3.       เพื่อลดปัญหาความขัดแย้ง
  ภารกิจในการประสานงาน   
1.       นโยบาย
2.       ใจ
3.       แผน
4.       งานที่รับผิดชอบ
5.       คน
6.       ทรัพยากร
อุปสรรคในการประสานงาน
1.       การขาดมนุษยสัมพันธ์ในการประสานงาน
2.       การขาดแผนการปฏิบัติงาน
3.       ขาดความสามารถของผู้ปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน
4.       การสื่อสารที่ไม่ดี เกิดติดขัด

บทที่ 9 การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ


การตัดสินใจ คือ การบริหาร ซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอนการกำหนดนโยบาย เป้าหมายในการบริหาร ขั้นการวางแผน ประสานงาน การดำเนินงานจนถึงขั้นลงมือปฏิบัติ ซึ่งทุกระดับจะต้องมีการตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา
องค์ประกอบต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ
1.       ข่าวสาร ที่จะนำมาสนับสนุนเพื่อเป็นมูลฐานของการวินิจฉัยสั่งการ
2.       การเสี่ยง  จะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงว่าจะมีความเสี่ยงมาน้อยเพียงใด
3.       นโยบาย การวินิจฉัยสั่งการจะต้องคำนึงถึง นโยบายขององค์การว่า มีอยู่อย่างไร การวินิจฉัยสั่งการในเรื่องใดจะต้องให้สอดคล้อหรือเป็นไปตามนโยบาย
4.       ปัญหาต่าง ๆ
5.       เวลา
ประโยชน์ของการตัดสินใจ
1.       ทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ / เป้าหมายขององค์การ
2.       ก่อให้เกิดการแระสานงานที่ดี ลดความซ้ำซ้อน
3.       ช่วยประหยัดทรัพยากร
4.       ทำให้การประสานงานเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล




บทที่ 10 ภารกิจของผู้บิหารโรงเรียน
ภารกิจของผู้บริหารโรงเรียน
1.การบริหารงานวิชาการ ถือเป็นหัวใจของสถานศึกษาซึ่งจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษาไม่ว่าจะเป็น การจัดการเรียนการสอน การประเมินผล การควบคุมดูแลครู การจัดงบประมาณ การจัดการเอกสารต่างๆ เป็นต้น
2.การบริหารบุคคล คือ เป็นการจัดงานเกี่ยวกับคนให้ทำงานให้ได้ผลที่สูงสุดและให้เกิดประโยชน์มากที่สุดแก่สถานศึกษา  
3.การบริการธุรการในโรงเรียน เป็นเรื่องของการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆของโรงเรียนสถาบันการศึกษา ซึ่งส่งผลให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด การทำงานได้ดีนั้นถือเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความสามารถของผู้บริหารงาน
4.การบริหารงานนักเรียน เป็นการบริการงานเกี่ยวกับนักเรียนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในห้องเรียน หลักในการจัดกิจกรรม โดยการให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเข้ากิจกรรมอย่างเสมอภาคกัน และต้องอยู่ในความรับผิดชอบของสถานศึกษา ต้องปลูกฝังความคิด ให้ผู้เรียนอยู่เสมอ  
5.การบริหารอาคารสถานที่และบริการด้านอื่นๆ คือ การรู้จักจัดหา รู้จักใช้อาคารสถานที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และยังคงรักษาสภาพเดิมเอาไว้